
webadmin












วันที่ ๒ กรกฎาคม เวลา 16.00 น.
พระครูปลัดสุวัฒนพรหมวิหารคุณ
รองเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี
เจ้าอาวาสวัดทรงเสวย
ฐานะตัวแทนสมาชิกทายาท
ในหม่อมลับ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา(แม่พุ่ม)
หม่อมใน สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเด
พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน
วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ๑๒๓ ปี
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพัลลัภดนัย
พระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ประสูติแต่หม่อมลับ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา(แม่พุ่ม)
วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
ณ เรือนเกษร (อาคารสำนักงานรองเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี)
วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
พร้อมมอบทุนการศึกษาเด็กยากจน แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบุญนาคพิทยาคม
จำนวน 6 ทุน
และ มอบทุน อาหารกลางวัน โรงเรียนวัดคงคาราม (คุ้มมั่นพุมมะระประชาสรรค์)
จำนวน 3,000 บาท























ไม่สามารถอาศัยได้เนื่องจากเป็นไม้เก่ามีปลวกขึ้น


ต้องใช่ไม้เท้าช่วยพยุง เป็นเหตุให้ไม่สามารถ ประกอบอาชีพอะไรได้เลย
และยังมีโรคประจำตัวอีกด้วย มีเพียงรายได้ จากเงินคนพิการและเงินเดือนผู้สูงอายุ

เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
พระตําหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์
ตำหนักที่ประทับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ ๕ วัดทรงเสวย
จัดแสดงของพระราชทานเครื่องสังเค็ด ของที่ระลึกงานพระศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๓๖
วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช
พระองค์เจ้าชายอุรุพงษ์รัชสมโภช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๗๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลื่อน ประสูติวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดให้ตามเสด็จรับใช้ใกล้ชิด มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เช่นเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ปี พุทธศักราช ๒๔๔๙ และเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ปี พุทธศักราช ๒๔๕๐ พระองค์ก็ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถด้วยทั้ง ๒ ครั้ง เมื่อทรงเจริญถึงวัยที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ เช่นเดียวกับพระราชโอรสพระองค์อื่น ก็ทรงให้เว้นเสีย และให้จ้างครูชาวต่างชาติเข้ามาสอนหนังสือถึงในพระตำหนัก แทนที่จะต้องเสด็จไปศึกษาในต่างประเทศ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นภายในพระราชวังดุสิตและพระราชทานนามว่า “ตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์” เพื่อพระราชทานให้ประทับอยู่ใกล้ ๆ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ สิริพระชันษา ๑๗ ปี เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโทมนัสยิ่งนักที่พระราชโอรสสิ้นพระชนม์ ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นสาธารณกุศล ที่เชิงสะพานทั้งสองฝั่งมีพระรูปปั้นหินอ่อนของพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระราชทานชื่อสะพานว่า สะพานอุรุพงษ์ จนถึงปัจจุบัน ไม่มีสะพานแห่งนี้แล้ว คงเหลือแต่ชื่อ สะพานอุรุพงษ์ ข้ามแม่น้ำเพชรบุรี อาคารอุรุพงษ์ ภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ถนนอุรุพงษ์ และสี่แยกอุรุพงษ์ ถนนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
วัดทรงเสวยตั้งอยู่ ณ บ้านหนองแค เลขที่ ๖๓ หมู่ ๑ ต.หนองน้อย อ. วัดสิงห์ จ. ชัยนาท
แต่เดิมเป็นวัดร่าง สมัยอยุธยา มีชื่อเดิมว่าวัดเกสร ก่อตั้งขึ้นโดยพระอธิการคล้อย ธมฺมนิยํ และชาวบ้านหนองแค ภายหลังพระอธิการคล้อย ธมฺมนิยํ ท่านได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดราษฎร์เจริญธรรม แต่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าวัดหนองแค ตามชื่อหมู่บ้านมากกว่า ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ (ร.ศ. ๑๒๗)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสด็จพระราชดำเนิน ตรวจสอบลำน้ำเก่า โดยทางรถไฟถึง จ.นครสวรรค์ แล้วเสด็จประทับเรือพระที่นั่งครุฑเหิรเห็จ เพื่อตรวจลำแม่น้ำมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน)ทรงประทับแรมที่วัดหัวหาด อ. มโนรมย์ ปัจจุบันเรียกวัดนี้ว่า วัดพิกุลงาม นับเป็นการเสด็จเมืองชัยนาท เป็นครั้งที่ ๓ ต่อจากนั้น วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ เสด็จ ฯ ตามลำน้ำมะขามเฒ่าผ่านตลาดวัดสิงห์ ลำน้ำมะขามเฒ่า สมัยนั้นเต็มไปด้วยผักตบชวา และตอไม้ ประชาชนจึงได้ช่วยกัน ตัดตอไม้ และเก็บผักตบชวา พระองค์ประทับแรมที่ ณ บ้านหนองแค ซึ่งสมัยนั้นขึ้นกับ ตำบลคลองจันทร์ อำเภอเดิมบาง เมืองไชยนาท (ปีพุทธศักราช๒๔๕๒ ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ เมืองไชยนาท)
ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ในครั้งนั้น พระอธิการคล้อยเป็นเจ้าอาวาส ได้ชักชวนราษฎร์ สร้างพลับพลารับเสด็จ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ เสวยยอดหวายโปง ตาแป้น มรรคนายกวัดหนองแค (ภายหลังทรงตั้งให้ตาแป้น ดำลงตำแหน่งหมื่นสมาน ขุนมาส) จึงได้ให้ชาวบ้านไปหายอดหวายโปงมา เผาไฟ หยวกกล้วยต้ม น้ำพริกปลามัจฉะมาถวาย พระองค์ทรงเสวยอย่างเจริญพระกระยาหาร และตรัสกับชาวบ้านว่า ต่อไปนี้ให้เรียกวัดนี้ว่า วัดเสวย แต่ชาวบ้านได้ขอพระราชทาน ขอเติมคำว่า “ทรง” ไปด้วย พระองค์ทรงพระอนุญาต ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดทรงเสวย” จนทุกวันนี้
และเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๒ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (พระโอรสองค์ที่ ๗๕) ประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง ๑๗ พรรษา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงมีรับสั่งให้ บูรณะวัดทรงเสวย ถวายเป็นพระราชกุลแด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ได้ถวายของที่ระลึก แด่พระอธิการคล้อย เป็นของที่ระลึกงานพระศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ของที่ถวาย ได้แก่ บาตร ฝาบาตรมีตราสีทองรูปวงรี มีข้อความว่า ร.ศ. ๑๒๘ งานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ปิ่นโตขนาดใหญ่ที่ฝาปิ่นโต มีข้อความเช่นเดียวกับฝาบาตร พระขรรค์ ตาลปัตรใบลาน ตะเกียงลานเรือสำปั้น ป้านน้ำชา ๑ ชุด ตราประจำวัดทรงเสวยแกะด้วยงา และสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งของเหล่านี้ ปัจจุบันทางวัดยังเก็บรักษาไว้อย่างดี
และปัจจุบันวัดทรงเสวย จัดให้มีพิธีบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวาย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ในวันที่ ๒๐ กันยายน ของทุกๆปี และแจกทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อวัดทรงเสวย
พิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา
ถวายพระราชกุศล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง
ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖
ณ อาคารศรีบุญนาค วัดทรงเสวย
ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
โดยพระครูปลัดสุวัฒนพรหมวิหารคุณ รองเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี
เจ้าอาวาสวัดทรงเสวย
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
ผศ.ดร. วรารักษ์เมธา ศิริวัฒนาวรากร เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
และพิธีมอบทุนการศึกษา แก่นักเรียน ในวันแม่แห่งชาติ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๖
“วันเข้าพรรษา”
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา (“พรรษา” แปลว่า ฤดูฝน, “จำ” แปลว่า อยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา
วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท