Get Adobe Flash player
เมนูหลัก
วัดทรงเสวย บน Facebook
ส้มฉุน ศิษย์วัดทรงเสวย
สถิติเว็บไซต์

พระครูวิชัยสาธุกิจ (หลวงปู่ย้อย วิจารโณ) (พ.ศ.๒๔๘๙ – พ.ศ.๒๕๒๓)

1662329_10201538921224203_1610009565_n

พระครูวิชัยสาธุกิจ (หลวงปู่ย้อย วิจารโณ)
เจ้าอาวาสวัดทรงเสวย รูปที่ ๒
พ.ศ.๒๔๘๘ – พ.ศ.๒๕๒๓

ประวัติ พระครูวิชัยสาธุกิจ (หลวงปู่ย้อย วิจารโณ) วัดทรงเสวย
พระครูวิชัยสาธุกิจ เดิมชื่อ ย้อย แสงขำ เป็นบุตร นายฉาย แสงขำ นางจันทร์ แสงขำ เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2444 ตรงกับวันพุทธ แรม 4 ค่ำ เดือน 7 ที่บ้านหนองแค หมู่ 1 ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน

1. นายเกรี่ย แสงขำ
2. พระครูวิชัยสาธุกิจ(ย้อย วิจารโณ)
3. นายเจ๊ก แสงขำ
4. นางจำเนียรแสงขำ
5. นางแป้น ชุลตาล
6. นายจุ้น แสงขำ
7. นายโต๊ะ แสงขำ
8.นายดำ แสงขำ

เมื่อเยาว์วัยสุขภาพไม่ค่อยสมบูรณ์นัก เป็นที่รักใคร่ของบิดามารดา และญาติมิตรทั่วๆไป เป็นผู้ที่มีนิสัยอ่อนโยน สุภาพ ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อรั้น มีความพฤติเรียบร้อย รู้จักจับจ่ายใช้สอยสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร ขยันกิจการงาน ช่วยเหลือทางบ้านเป็นอย่างดียิ่ง รักความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวตลอดมา จนเป็นที่กล่าวขวัญของผู้ที่พบเห็นอยู่เป็นเนื่องนิจ

การศึกษาเล่าเรียนปรากฏว่า ไม่เคยได้ศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนใดๆ ทั้งนี้เพราะบริเวณแถวย่านนั้นยังไม่มีโรงเรียนใดที่เปิดทำการสอนเลย หนังสือสักตัวเดียวก็อ่านไม่ออก ด้วยเหตุผลที่อ่านหนังสือไม่ออกนี้เอง บิดามารดาจึงไม่สนใจในเรื่องที่จะบวชเรียนให้เท่าใดนัก บิดามารดาของทานจึงได้นำท่านไปฝากให้ไปเป็นเด็กวัดอยู่กับพระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า

เมื่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับ พ.ศ.2466 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดนางลือ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท พระชัยนาทมุนี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุและอดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท เป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในชีวิต นับตั้งแต่อุปสมบทเป็นภิกษุ ไม่เคยสึกหาลาเพศเลยจวบจนมรณภาพ และได้อยู่จำพรรษา ณ วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โดยไม่เคยไปอยู่วัดใดและจำพรรษาที่วัดอื่นใดทั้งสิ้น เมื่ออุปสมบทแล้วได้ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียนหัดอ่านหัดเขียนภาษาไทย และต่อหนังสือกับผู้รู้สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วและจดจำได้อย่างแม่นยำมาก ครูผู้สอนและต่อหนังสือให้ก็คือ หลวงพ่อคล้อย ลมฺมนิยงํ เจ้าอาวาสวัดทรงเสวยนั่นเอง ในด้านการศึกษาเล่าเรียนนี้นับว่าเป็นลักษณะพิเศษประจำตัวท่านอย่างหนึ่ง เพราะสามารถอ่านออกเขียนได้ และท่องหนังสือเจ็ดตำนานได้จบเล่มในเวลาหนึ่งพรรษา และท่องปาฏิโมกข์ได้ในพรรษาถัดมาหลวงพ่อคล้อยเห็นว่าเป็นผู้มีแววเอาจริงเอาจัง ในด้านพุทธศาสนาจึงได้ฝึกหัดเทศน์มหาชาติและคาถาพันให้ก็สามารถเทศน์ได้ตามความประสงค์ทุกประการ ยิ่งไปกว่านั้นการเทศน์ทุกอย่าง ท่านเทศน์ได้ปากเปล่า โดยไม่ต้องดูหนังสืออย่างไม่มีผิดเพี้ยน ( ผู้ที่เคยพบเห็นและได้ฟังมาย่อมเป็นหลักประกันได้เป็นอย่างดี )

นอกจากการศึกษาด้านภาษาไทยแล้ว ต่อมาได้ฝึกฝนและศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมกับหลวงพ่อคล้อยต่อไปอีก และสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างแตกฉาน จนเป็นที่ยอมรับกับคณาจารย์โดยทั่วไป การศึกษาในทางธรรม เป็นผู้ที่สนใจท่องบ่นและศึกษาด้วยตนเองและจดจำเนื้อหาได้ทุกขั้นตอน หลวงพ่อคล้อยได้พยายามรบเร้าให้เข้าสอบนักธรรมของสนามหลวงมาตลอด แต่ก็ไม่ยอมเข้าสอบ เพราะการเรียนนั้นหวังเพียงความรู้เพียงอย่างเดียวไม่ได้หวังสอบใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะท่านเป็นผู้มักน้อย แม้แต่การขอเลื่อนสมณศักดิ์แต่ละครั้งท่านก็ไม่ยอมให้ขอได้ง่ายๆนัก ผู้ใกล้ชิดต้องพยายามออดอ้อนรบเร้าขอร้องชี้แจง เพื่อเกียรติของวัดบ้างอะไรต่อมิอะไรบ้าง ท่านจึงยอมให้ทำและเซ็นชื่อให้แต่กว่าจะอนุญาตให้ก็มักโดนดุหงายหลังมาหลายครั้ง

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2476 ตรงกับพรรษาที่ 10 ทนต่อการรบเร้าของหลวงพ่อคล้อยไม่ไหว จึงยอมเข้าสอบนักธรรมชั้นตรี เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในชีวิต เพราะหลังจากนั้นปรากฏว่าท่านไม่ยอมเข้าสอบอะไรอีกเลย และเมื่อทางคณะสงฆ์ประกาศผลการสอบ ปรากฏว่าสอบได้ตามความประสงค์

จะอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประกาศนียบัตรจะมีเพียงนักธรรมตรีแต่ความรู้ของท่านจะมีเพียงนักธรรมตรีเท่านั้นก็หาไม่ ท่านรู้มากมายหลายอย่างเหลือคณานับ สามารถที่จะสอนอธิบายและตอบข้อซักถามให้กับผู้ที่สนใจในด้านธรรมะอย่างกระจ่างแจ้งทุกขั้นตอน สร้างความพึงพอใจให้กับผู้สนทนาเสมอมา

สมณศักดิ์
พ.ศ.2509 เป็นพระครูสัญญาบัติชั้นตรี มีพระราชทินนามว่า “พระครูวิชัยสาธุกิจ”
พ.ศ.2516 เลื่อนเป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นโท มีพระราชทินนามเดิมว่า “พระครูวิชัยสาธุกิจ”

กรณียกิจทางศาสนา
พ.ศ.2488 เมื่อหลวงพ่อคล้อย ได้มรณะภาพลงทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดทรงเสวย
พ.ศ.2489 เป็นเจ้าอาวาสวัดทรงเสวย
พ.ศ.2490 ได้เป็นพระอุปัชฌย์มีหน้าที่อุปสมบทและเทศนาสั่งสอนประชาชนอยู่เป็นเนืองนิจ และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดทรงเสวย

งานสังคมสงเคราะห์
พระครูวิชัยสาธุกิจ เป็นพระที่สงเคราะห์สังคมอย่างพร้อมมูลแผ่เมตตาแก่ชนทุกชั้น แก้ปัญหาชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม ที่มืดมนไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ มีความเมตตาต่อสัตว์ เช่น สุนัข แมว ปลามาก เช่นหลังจากฉันอาหารแล้ว จะต้องให้เด็กนำอาหารไปทำทานทุกครั้ง จะขาดเสียมิได้ จะเห็นได้ว่าท่านเป็นนักเสียสละที่ยอดเยี่ยม ทั้งด้านกำลังกายกำลังใจและกำลังทรัพย์ ให้แก่ผู้ยากไร้ปราศจากการเสียดาย ประชาชนไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล เกิดความเดือดร้อนมาปรึกษาหารือท่านจะให้การช่วยเหลือจนเต็มความสามารถไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ถือชั้นวรรณะ ไม่เลือกรับอาราธนาเฉพาะคนมั่งมี รับนิมนต์ที่ไหนก่อนจะไปที่นั้น ไม่ว่าจะข้ามน้ำ ลงท่า เข้าป่า ขึ้นเขา ทางจะกัดารเพียงใดท่านไปกับเราได้ทั้งนั้นถ้างานใดเจ้าภาพจัดให้มีมหรสพ ส่วนมากทางเจ้าภาพจะต้องนิมนต์ท่านไปเป็นเพื่อน เพื่อหวังบารมีให้ช่วยคุ้มกันเหตุร้ายต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นท่านก็จะไปและอยู่จนกว่ามหรสพจะเลิกทุกครั้ง งานใดถ้าท่านรับรองได้ว่างานนั้นจะไม่มีการรบราฆ่าฟันกันเกิดขึ้น นับว่าท่านได้ช่วยเหลือให้คนพ้นทุกข์มามากต่อมาก หรือผ่อนหนักเป็นเบา ได้แนะนำตักเตือนผู้หลงผิดเป็นชอบ โดยเฉพาะนักเลงการพนัน และคอสุราท่านจะขอร้องให้ยกเว้นเป็นพิเศษ นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดอยู่ในระเบียบวินัย มีวาจาสิทธิ์ พูดอะไรมักจะเป็นอย่างนั้นคนกลัววาจาท่านมาก ทุกคนจะพยายามไม่ให้ท่านพูดในสิ่งที่ไม่ดีแก่ตน แต่ก็มีน้อยมากที่จะพูดสิ่งที่ไม่เป็นมงคลกับผู้ใด นอกเสียจากผู้นั้นทำความเดือดร้อนให้แก่สังคมจริงๆ ถ้าใครโดนเข้าก็นับว่าซวยไปตลอดชาติ จะเห็นได้จากการเลี้ยงปลาที่หน้าวัดซึ่งจะไม่มีผู้ใดไปรบกวนเลย ถ้าผู้ใดไปรบกวนหรือลองดีรับรองว่าเจอดีทุกคนไป (มีพยานเป็นเครื่องพิสูจน์)
ถ้าทรัพย์สินผู้ใดหายและสงสัยใครก็นำตัวไปหาท่าน ท่านจะเสกข้าวสารให้เคี้ยว สามารถชี้ตัวผู้ลักขโมยได้อย่างแม่นยำ จนเจ้าตัวยอมจำนนและนำของกลางมาคืนให้กับเจ้าของเดิม แต่ท่านจะไม่ค่อยได้ทำให้กับผู้ใดมากนัก นอกเสียจากหลีกเลี่ยงไม่ได้
ท่านเป็นพระที่เรืองวิชารูปหนึ่ง และมีเอกลักษณ์ประจำตัวท่านหลายอย่าง อาทิ เมื่ออยู่บนกุฏิจะนั่งเพียงสองที่ คือที่พื้นชั้นบนและพื้นชั้นล่างตรงหน้ากุฏิท่านเท่านั้น ของใช้เช่นเตียงนอนและเก้าอี้ส่วนตัวที่เคยใช้ ถ้ามีผู้ใดนั่งหรือนอนจะไม่นำมาใช้อีก ตอนเช้าและตอนเย็นจะลงไปออกกำลังกายและสำรวจรอบบริเวณลานวัดเป็นประจำทุกวัน การนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ท่านจะนั่งขัดตะหมาด โดยไม่นั่งห้อยเท้าเด็ดขาด ไม่ว่าเส้นทางนั้นจะขลุกขลักสักปานใดก็ตาม การก่อสร้างทุกครั้งจะไม่ยอมออกไปบอกบุญหาเงินนอกหมู่บ้าน ไม่ยอมให่การก่อสร้างค้างปี ไม่ยอมเป็นหนี้ร้านค้า เครื่องรางของขลังไม่มีการจำหน่ายหรือให้เช่า แต่จะแจกกับทุกคนที่ไปหาและมีความต้องการ จะไปกี่คนก็ตาม ถ้าเอยปากขอเพียงคนเดียว ท่านก็จะแจกให้จนครบทุกคน แต่จะขอไปฝากพวกพ้องทางบ้านนั้นท่านจะม่ยอมให้เด็ดขาด ยิ่งไปกว่านั้นถ้าท่านไปแห่งหนตำบลใดก็ตามจะไม่นำติดตัวไปด้วย เพราะท่านถือคติว่าถ้าท่านผู้ใดนับถือท่านและมีความประสงค์อยากจะได้จริงๆ ก็ต้องไปรับที่วัด

ชีวิตบั้นปลาย
ท่านมีสุขภาพไม่สมบูรณ์นัก เนื่องจากได้ตรากตรำเกี่ยวกับกิจนิมนต์ต่างๆแทบไม่มีวันหยุด ประกอบกับโรคชรา
เมษายน 2521 ได้อาพาธผิดไปกว่าที่เคยเป็นมาคณะศิษยานุศิษย์จึงพาไปรักษาที่โรงพยาบาลคริสเตียน อำเภอมโนรมย์ รักษาอยู่ 5 วัน จึงย้ายไปรักษาที่โรงพยาบาลชัยนาทอีก 5 วัน อาการดีขึ้นตามลำดับนายแพทย์จึงอนุญาตให้กลับได้ อาการก็ดีเป็นปกติ
มีนาคม 2522 อาการอาพาธแบบเดิมได้เกิดขึ้นอีก จึงได้พาไปรักษาที่โรงพยาบาลชัยนาท นายแพทย์ได้สั่งให้พักฟื้นทำการรักษาอยู่น่นถึง 11 วัน นายแพทย์จึงอนุญาตให้กลับวัด อาการต่อมาดีขึ้นแต่ไม่สู้จะปกติดีเหมือนเดิม
1 ธันวาคม 2523 โรคเก่าได้เริ่มอาพาธขึ้นอีก และรู้สึกกว่าจะเป็นมากว่าทุกครั้ง
3 ธันวาคม คณะกรรมการและศิษยานุศิษย์ได้พาไปรักษาที่คลีนิคนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชัยนาท พักรักษาตัวอยู่ 2 วัน นายแพทย์ผู้อำนวยการฯ จึงไปติดต่อห้องพิเศษในโรงพยาบาลชัยนาทให้ และสั่งย้ายไปรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งนี้เพราะเห็นว่าที่โรงพยาบาลมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกพร้อมมูล นับตั้งแต่เข้าไปรักษาตัวที่คลินิกและเข้าโรงพยาบาล ท่านไม่มีโอกาสที่จะพูดจาสั่งเสียอะไรเลยเพราะอวัยวะทุกส่วนไม่ค่อยทำงาน อาหารฉันท์ได้น้อยลงน้อยลงจนฉันท์ไม่ได้ จวบจนเวลา 01.06 น. ของวันที่ 6 ธันวาคม 2523 ท่านจึงได้มรณะด้วยอาการสงบ ณ ห้องพิเศษ โรงพยาบาลชัยนาท วันอังคาร ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2524 พระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อย้อย วิจารโณ ณ เมรุวัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

45 46

 

10013749_1547168172175440_1081125011_n 10941038_1781883512037237_7766050757882609803_n

02

00
01

04
05
06
07
08
09
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29


วัตถุมงคลหลวงปู่ย้อย

p01 p02 p3 p4 p5 p6 p7 p8

 

p9

 

47

 

 

 

หลวงพ่อทอง
หลวงพ่อทอง
เจ้าอาวาส
เจ้าอาวาส
สถานที่ภายในวัด