Get Adobe Flash player
เมนูหลัก
วัดทรงเสวย บน Facebook
ส้มฉุน ศิษย์วัดทรงเสวย
ข่าวประชาสัมพันธ์
สถิติเว็บไซต์

webadmin

01 copy

ขอเชิญร่วมงานบุญประเพณีตักบาตรเทโว
วันศุกร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
(แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑)
ณ วัดทรงเสวย ต.หนองน้อย อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

(เวลา ๐๗.๐๐ น.)
ชมขบวนแห่เทวดา นางฟ้า
พระพุทธรูปนำพระสงฆ์ออกบิณฑบาตร
ประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง

22291339_1939639796323418_6236394794312099322_o

01

เจ้าภาพกฐินสามัคคีวัดทรงเสวย
ขอเชิญร่วมพิธีถวายผ้ากฐิน ประจำปี ๒๕๖๐

ในวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โดย
นายกสมเกียรติ วงศ์สมุท
(นายกเทศบาลตำบลหนองน้อย)
และ
คุณสายฝน วงศ์สมุท
เป็นประธานในการถวายผ้ากฐินสามัคคี

ร่วมบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธา
ได้ที่คณะกรรมการจัดงาน
(รายได้เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาธรรมสังเวช)

กลางคืนชมลิเก
ศรรามน้ำเพชร

ติดต่อสอบถาม
โทร. 056-943-034 , 056-943-111 , 093-171-3256

21752848_2385940414964874_7617721709110712326_o

01

ขอเชิญร่วมังเทศน์มหาชาติ ๑๐ ชาติ ๑๐ บารมี
และเทศน์ทรงเครื่องแสดงประกอบเทศน์ ในชาติที่ ๓ สุวรรณสาม

โดย
ลิเกคณะ ส.สำรวมศิล
พระอาจารย์วิโรจโน วัดสว่างอารมณ์
พระมหาพงศธง กมมสุทโธ วัดจระเข้

ณ วัดทรงเสวย
ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป

กลางคืนชมลิเกคณะ พัลลภ มยุรา เพชณรุ่ง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
056 943 034 และ 0919906909

21231176_1056904051080031_5993009260663404956_n

21200474_1056904084413361_5279088204952469678_o

………………..

พระเจ้าสิบชาติ (ทศชาติชาดก)
ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์
ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง มีดังนี้
• ชาติที่ 1 เตมีย์ชาดก เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
• ชาติที่ 2 ชนกชาดก เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี
• ชาติที่ 3 สุวรรณสามชาดก เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี
• ชาติที่ 4 เนมิราชชาดก เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
• ชาติที่ 5 มโหสถชาดก เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี
• ชาติที่ 6 ภูริทัตชาดก เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี
• ชาติที่ 7 จันทชาดก เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี
• ชาติที่ 8 นารทชาดก เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
• ชาติที่ 9 วิทูรชาดก เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี
• ชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก เพื่อบำเพ็ญทานบารมี
หัวใจพระเจ้าสิบชาติคือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
ความย่อ ชาดก ทั้ง ๑๐ เรื่อง
๑. เตมียชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม
เล่าเรื่องเตมียราชกุมาร เกรงการที่จะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลดพระหฤทัยที่เห็นราชบุรษลงโทษโจรตามพระราชดำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันครั้งบ้าง เอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง จึงใช้วิธีแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูกทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อจะเลี่ยงการครองราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพรามณ์ ก็ได้รับคำแนะนำให้นำราชกุมารไปฝังเสีย.
พระราชมารดาทรงคัดค้านไม่สำเร็จ ก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชสัก ๗ วัน แต่พระราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีนำราชกุมารขึ้นสู่รถเพื่อจะฝังตามรับสั่งพระราชา ขณะที่ขุดหลุมอยู่พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศัยกับนายสารถี แจ้งความจริงให้ทราบว่า มีพระประสงค์จะออกบวชสารถีเลื่อมใสในคำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสให้นำรถกลับไปคืนก่อน สารถีนำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ทรงทราบ.
ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารจึงได้เสด็จออกไปหา เชิญให้พระราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับถวายหลักธรรมให้ยินดีในเนกขัมมะ คือการออกจากกาม. พระชนกชนนีพร้อมด้วยบริวารทรงเลื่อมใสในคำสอน ก็เสด็จออกผนวชและบวชตาม. และได้มีพระราชาอื่นอีกเป็นอันมากสดับพระราชโอวาทขอออกผนวชตาม.
๒. มหาชนกชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี คือความพากเพียร
ใจความสำคัญ คือพระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยี่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ. ชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไป อย่าเบื่อหน่าย ( ความเพียร ) เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้.
๓. สุวรรณสามชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี คือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสี ชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนูด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา.
มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาให้สั่งสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง.
๔ . เนมิราชชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือความตั้งมั่นคง.
มีเรื่องเล่าว่า เนมิราชกุมารได้ครองราชสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงามความดีเป็นที่รักของมหาชน และในที่สุด เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา.
๕ . มโหสถชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญปัญญาบารมี คือความทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้.
มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้ สามารถแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกันพระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้.
๖ . ภูริทัตชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญบำเพ็ญศีลบารมี คือการรักษาศีล.
มีเรื่องเล่าว่า ภูริฑัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา. ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมารต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ.
๗ . จันทกุมารชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญขันติบารมี คือความอดทน
มีเรื่องเล่าว่า จันทกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช เคยช่วยประชาชนให้พ้นจากคดี ซึ่งกัณฑหาลพราหมณ์ ราชปุโรหิตาจารย์รับสินบนตัดสินไม่เป็นธรรม ประชาชนก็พากันเลื่อมใสเปล่งสาธุการ ทำให้กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตในพระราชกุมาร.
เมื่อพระเจ้าเอกราชทรงราชสุบิน เห็นดาวดึงสเทวโลก เมื่อตื่นจากบรรทมทรงใคร่จะทราบทางไปสู่เทวโลก ตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ จึงเป็นโอกาสให้พราหมร์แก้แค้นด้วยการกราบทูลแนะนำให้ตัดพระเศียรพระโอรส ธิดา เป็นต้น บูชายัญ.
พระเจ้าเอกราชเป็นคนเขลา ก็สั่งจับพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ไปที่พระลานหลวง เพื่อเตรียมประหารบูชายัญ นอกจากนั้นยังสั่งจับพระมเหสี ๔ พระองค์ และคนอื่น ๆ อีก เพื่อเตรียมการประหารเช่นกัน แม้ใครจะทัดทานขอร้องก็ไม่เป็นผล. ร้อนถึงท้าวสักกะ ( พระอินทร์) ต้องมาข่มขู่และชี้แจงให้หายเข้าในผิดว่า วิธีนี้ไม่ใช่ทางไปสวรรค์ . มหาชนจึงรุมฆ่าพราหมณ์ปุโรหิตนั้นและเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญจันทกุมารขึ้นครองราชย์.
๘ . นารทชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือการวางเฉย.
มีเรื่องเล่าว่า พรหมนารทะช่วยเปลื้องพระเจ้าอังคติราชให้กลับจากความเห็นผิด มามีความเห็นชอบตามเดิม ( ความเห็นผิดนั้น เป็นไปในทางว่าสุขทุกข์เกิดเองไม่มีเหตุ คนเราเวียนว่ายตายเกิด หนักเข้าก็บริสุทธิ์ได้เอง ซึ่งเรียกว่าสังสารสุทธิ) .
๙ . วิฑูรชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญสัจจบารมี คือความสัตย์.
มีเรื่องเล่าถึงวิฑูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำประจำราชสำนัก พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ เป็นผู้ที่พระราชา และประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก ครั้งหนึ่งปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเล่นสกา ถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ ก็จะพระราชทานทุกสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่พระกายของพระองค์ ราชสมบัติ และพระมเหสี
ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์จึงทูลขอตัววิฑูรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิฑูรบัณฑิตยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหนี่ยวด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้วิฑูรบัณฑิตตัดสิน วิฑูรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ต้องการเพียงเพื่อจะนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบายของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิฑูรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้นำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมา.
แม้ยักษ์จะหาวิธีทำให้ตายก็ไม่ตาย วิฑูรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนรธรรม ( ธรรมของคนดี) ให้ยักษ์เลื่อมใสและได้แสดงธรรมแก่พญานาค ในที่สุดก็ได้กลับสู่กรุงอินทปัตถ์ มีการฉลองรับขวัญกันเป็นการใหญ่.
๑๐ . เวสสันดรชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญทานบารมี คือบริจาคทาน.
มีเรื่องเล่าถึงพระเวสสันดรผู้ใจดีบริจาคทุกอย่างที่มีคนขอ ครั้งหนึ่งประทานช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองแก่พราหมณ์ชาวกาลิงคะ ซึ่งมาขอช้างไปเพื่อให้หายฝนแล้ง แต่ประชาชนโกรธขอให้เนรเทศ พระราชบิดาจึงจำพระทัยเนรเทศ ซึ่งพระนางมัทรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาได้ตามเสด็จไปด้วย
เมื่อชูชกไปขอสองกุมาร ก็ประทานอีก ภายหลังพระเจ้าสญชัยพระราชบิดาทรงไถ่สองกุมาร แล้วเสด็จไปรับกลับกรุง. ( เรื่องนี้แสดงการเสียสละส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ คือการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันจะเป็นทางให้ได้บำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้ดียิ่ง มิใช่เสียสละโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหรือเหตุผล)

01

ขอเชิญร่วมเททองหล่อรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสวัดทรงเสวย
(องค์จำลอง) หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว

ในวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกา 2560 เวลา 12.00 น.

ร่วมสมทบทุนหล่อแผ่นทอง แผ่นละ 20 บาท

วัตถุประสงค์เพื่อนำไปประดิษฐานในอุโบสถวัดทรงเสวย
และใช้ในพิธีสรงน้ำอดีตเจ้าอาวาสวัดทรงเสวยในงานประเพณีมหาสงกรานต์

ประธานอุปถัมภ์ในการเททอง
โดยคณะ ลูกหลาน คุณแม่เล็ก ชูชัย
อุทิศให้ คุณแม่เล็ก ชูชัย

ติดต่อสอบถามได้ที่วัดทรงเสวย
โทร. 091-990-6909 , 093-171-3257

20953280_1048335815270188_1051104606412494218_n

01

ขอเชิญร่วมฟังเทศมหาชาติ 10 ชาติ 10 บารมี
ในวันที่ 30 กันยายน 2560 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
ณ วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
และเทศทรงเครื่องแสดงประกอบเทศในชาติที่๓
สุวรรณสาม โดยลิเกคณะ ส.สำรวมศิล
พระอาจารย์ วิโรจน์ วิโรจโน
วัดสว่างอารมณ์
พระมหาพงศธร กมมสุทโธ
วัดเขาจรเข้
กลางคืนชมลิเกคณะ ลิเกคณะ พัลลภ มยุรา เพชรรุ่ง
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 056 943 034 และ 0919906909
………………..
พระเจ้าสิบชาติ (ทศชาติชาดก)
ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง มีดังนี้
• ชาติที่ 1 เตมีย์ชาดก เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
• ชาติที่ 2 ชนกชาดก เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี
• ชาติที่ 3 สุวรรณสามชาดก เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี
• ชาติที่ 4 เนมิราชชาดก เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
• ชาติที่ 5 มโหสถชาดก เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี
• ชาติที่ 6 ภูริทัตชาดก เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี
• ชาติที่ 7 จันทชาดก เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี
• ชาติที่ 8 นารทชาดก เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
• ชาติที่ 9 วิทูรชาดก เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี
• ชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก เพื่อบำเพ็ญทานบารมี
หัวใจพระเจ้าสิบชาติคือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
ความย่อ ชาดก ทั้ง ๑๐ เรื่อง
๑. เตมียชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม
เล่าเรื่องเตมียราชกุมาร เกรงการที่จะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลดพระหฤทัยที่เห็นราชบุรษลงโทษโจรตามพระราชดำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันครั้งบ้าง เอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง จึงใช้วิธีแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูกทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อจะเลี่ยงการครองราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพรามณ์ ก็ได้รับคำแนะนำให้นำราชกุมารไปฝังเสีย.
พระราชมารดาทรงคัดค้านไม่สำเร็จ ก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชสัก ๗ วัน แต่พระราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีนำราชกุมารขึ้นสู่รถเพื่อจะฝังตามรับสั่งพระราชา ขณะที่ขุดหลุมอยู่พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศัยกับนายสารถี แจ้งความจริงให้ทราบว่า มีพระประสงค์จะออกบวชสารถีเลื่อมใสในคำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสให้นำรถกลับไปคืนก่อน สารถีนำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ทรงทราบ.
ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารจึงได้เสด็จออกไปหา เชิญให้พระราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับถวายหลักธรรมให้ยินดีในเนกขัมมะ คือการออกจากกาม. พระชนกชนนีพร้อมด้วยบริวารทรงเลื่อมใสในคำสอน ก็เสด็จออกผนวชและบวชตาม. และได้มีพระราชาอื่นอีกเป็นอันมากสดับพระราชโอวาทขอออกผนวชตาม.
๒. มหาชนกชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี คือความพากเพียร
ใจความสำคัญ คือพระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยี่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ. ชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไป อย่าเบื่อหน่าย ( ความเพียร ) เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้.
๓. สุวรรณสามชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี คือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสี ชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนูด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา.
มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาให้สั่งสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง.
๔ . เนมิราชชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือความตั้งมั่นคง.
มีเรื่องเล่าว่า เนมิราชกุมารได้ครองราชสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงามความดีเป็นที่รักของมหาชน และในที่สุด เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา.
๕ . มโหสถชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญปัญญาบารมี คือความทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้.
มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้ สามารถแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกันพระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้.
๖ . ภูริทัตชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญบำเพ็ญศีลบารมี คือการรักษาศีล.
มีเรื่องเล่าว่า ภูริฑัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา. ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมารต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ.
๗ . จันทกุมารชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญขันติบารมี คือความอดทน
มีเรื่องเล่าว่า จันทกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช เคยช่วยประชาชนให้พ้นจากคดี ซึ่งกัณฑหาลพราหมณ์ ราชปุโรหิตาจารย์รับสินบนตัดสินไม่เป็นธรรม ประชาชนก็พากันเลื่อมใสเปล่งสาธุการ ทำให้กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตในพระราชกุมาร.
เมื่อพระเจ้าเอกราชทรงราชสุบิน เห็นดาวดึงสเทวโลก เมื่อตื่นจากบรรทมทรงใคร่จะทราบทางไปสู่เทวโลก ตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ จึงเป็นโอกาสให้พราหมร์แก้แค้นด้วยการกราบทูลแนะนำให้ตัดพระเศียรพระโอรส ธิดา เป็นต้น บูชายัญ.
พระเจ้าเอกราชเป็นคนเขลา ก็สั่งจับพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ไปที่พระลานหลวง เพื่อเตรียมประหารบูชายัญ นอกจากนั้นยังสั่งจับพระมเหสี ๔ พระองค์ และคนอื่น ๆ อีก เพื่อเตรียมการประหารเช่นกัน แม้ใครจะทัดทานขอร้องก็ไม่เป็นผล. ร้อนถึงท้าวสักกะ ( พระอินทร์) ต้องมาข่มขู่และชี้แจงให้หายเข้าในผิดว่า วิธีนี้ไม่ใช่ทางไปสวรรค์ . มหาชนจึงรุมฆ่าพราหมณ์ปุโรหิตนั้นและเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญจันทกุมารขึ้นครองราชย์.
๘ . นารทชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือการวางเฉย.
มีเรื่องเล่าว่า พรหมนารทะช่วยเปลื้องพระเจ้าอังคติราชให้กลับจากความเห็นผิด มามีความเห็นชอบตามเดิม ( ความเห็นผิดนั้น เป็นไปในทางว่าสุขทุกข์เกิดเองไม่มีเหตุ คนเราเวียนว่ายตายเกิด หนักเข้าก็บริสุทธิ์ได้เอง ซึ่งเรียกว่าสังสารสุทธิ) .
๙ . วิฑูรชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญสัจจบารมี คือความสัตย์.
มีเรื่องเล่าถึงวิฑูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำประจำราชสำนัก พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ เป็นผู้ที่พระราชา และประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก ครั้งหนึ่งปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเล่นสกา ถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ ก็จะพระราชทานทุกสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่พระกายของพระองค์ ราชสมบัติ และพระมเหสี
ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์จึงทูลขอตัววิฑูรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิฑูรบัณฑิตยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหนี่ยวด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้วิฑูรบัณฑิตตัดสิน วิฑูรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ต้องการเพียงเพื่อจะนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบายของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิฑูรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้นำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมา.
แม้ยักษ์จะหาวิธีทำให้ตายก็ไม่ตาย วิฑูรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนรธรรม ( ธรรมของคนดี) ให้ยักษ์เลื่อมใสและได้แสดงธรรมแก่พญานาค ในที่สุดก็ได้กลับสู่กรุงอินทปัตถ์ มีการฉลองรับขวัญกันเป็นการใหญ่.
๑๐ . เวสสันดรชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญทานบารมี คือบริจาคทาน.
มีเรื่องเล่าถึงพระเวสสันดรผู้ใจดีบริจาคทุกอย่างที่มีคนขอ ครั้งหนึ่งประทานช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองแก่พราหมณ์ชาวกาลิงคะ ซึ่งมาขอช้างไปเพื่อให้หายฝนแล้ง แต่ประชาชนโกรธขอให้เนรเทศ พระราชบิดาจึงจำพระทัยเนรเทศ ซึ่งพระนางมัทรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาได้ตามเสด็จไปด้วย
เมื่อชูชกไปขอสองกุมาร ก็ประทานอีก ภายหลังพระเจ้าสญชัยพระราชบิดาทรงไถ่สองกุมาร แล้วเสด็จไปรับกลับกรุง. ( เรื่องนี้แสดงการเสียสละส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ คือการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันจะเป็นทางให้ได้บำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้ดียิ่ง มิใช่เสียสละโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหรือเหตุผล)

01

เจ้าภาพกฐินสามัคคีวัดทรงเสวย
ขอเชิญร่วมพิธีถวายผ้ากฐิน ประจำปี ๒๕๖๐
ณ วัดทรงเสวย
ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ในวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โดย นายกสมเกียรติ วงศ์สมุท
(นายกเทศบาลตำบลหนองน้อย)
และคุณสายฝน วงศ์สมุท เป็นประธานในการทอดถวาย

กลางคืนชมลิเก ศรรามน้ำเพชร สมโภชกฐิน

ร่วมบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธา ได้ที่ คณะกรรมการจัดงาน
(รายได้เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาธรรมสังเวช)
โทร. ๐๕๖-๙๔๓-๐๓๔ , ๐๕๖-๙๔๓-๑๑๑
๐๙๑-๙๙๐-๖๗๐๙ , ๐๙๓-๑๗๑-๓๒๕๖

20017824_174650306409475_5778752851424752719_o

28-1 copy

ขอเชิญร่วมปฎิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ
บวชเนกขัมมจาริณี

เนื่องในโอกาศเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ( ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐)
พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

28 ถึง 30 กรกฎาคม 2560
ณ ศาลาอเนกประสงค์วัดทรงเสวย
ต.หนองน้อย อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

เริ่มปฎิบัติธรรม วันที่ 28 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.00 น.

และเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพถวายอาหารเช้าและเพลหรือน้ำปะนะ
เป็นเจ้าภาพ มื้อละ 3,000 บาท หรือร่วมตามกำลังศรัทธา

ติดต่อร่วมปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ
(ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น)
ติดต่อร่วมเป็นเจ้าภาพ สอบถามรายละเอียดได้ที่
09-1990-6909 หรือ 09-3171-3257

19944202_1355147047867695_6989876753391624256_o

01 copy

ขอเชิญร่วมพิธีสวดมนต์เสริมบารมี
สะเดาะเคราะห์ต่อชะตา หลังจากเสร็จพิธีจับแจกรางวัลใหญ่
สร้อยคอ ทองคำ หนัก ๑ สลึง ๑ รางวัล
และรางวัลโปสเตอร์หลวงพ่อทอง ใส่กรอบ ๑๐ รางวัล
พระพุทธสุวรรณมหาชัยมุนี(พระพุทธรูปสำคัญเมืองชัยนาท)
ณ บริเวณมณฑลต้นตะเคียนวัดทรงเสวย จ.ชัยนาท
เริ่มพิธีเวลา ๑๙.๓๙ น.

กติการ่วมลุ้นรางวัล
เพียงคุณมาเที่ยววัดทรงเสวย จ.ชัยนาท
พร้อมเขียนชื่อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
ที่สามารถติดต่อได้ ลงในกล่องจับรางวัล

จับรางวัล วันที่ ๓๐ มิ.ย. , ๓๐ ก.ย. , ๓๐ พ.ย. ๖๐

(๑ ท่าน ๑ วัน ๑ สิทธิ์)

ติดต่อขอรับคูปองลุ้นโชค ได้ที่
ศาลาไม้ร้อยปี เทพทันใจ วัดทรงเสวย
หรือ โทร 093-171-3257

53453453453

01 copy

ขอเชิญร่วมพิธีสวดมนต์ สะเดาะเคราะห์ต่อชะตา
เสริมบารมี บูชาพระราหู บูชาแม่ตะเคียน รับปีชงระกา
เพื่อความเป็นสิริมงคลให้เจริญงอกงาม ค้าขายร่ำรวย

ผู้เข้าร่วมแจกฟรี
วัตถุมงคล เสริมโชคลาภ บารมี

ณ บริเวณมณฑลต้นตะเคียน
วัดทรงเสวย จังหวัดชัยนาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
๐๕๖-๙๔๓-๐๓๔

18157961_961764313927339_6290555563150903400_n

หลวงพ่อทอง
หลวงพ่อทอง
เจ้าอาวาส
เจ้าอาวาส
สถานที่ภายในวัด